• พฤหัส. มิ.ย. 1st, 2023

streetfood7

ศูนย์รวมเเหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับอาหาร ยอดนิยม

รู้จักระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่ทำชาวเกษตรกรฟื้นตัวได้

รู้จักระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

รู้จักระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศแห่งเกษตรกรรม ด้วยการเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ไปยังตลาดโลก รวมไปถึงโภคภัณฑ์การเกษตรอื่น ๆ อย่าง ปลา ผลิตภัณฑ์ปลา มันสำปะหลัง ธัญพืช และน้ำตาล  ประเทศไทยยังเป็นผู้นำโลกในการผลิตและส่งออกข้าว ยาง สับปะรดกระป๋อง

และกุ้งกุลาดำ เป็นผู้นำภูมิภาคเอเชียในการส่งออกเนื้อไก่ และโภคภัณฑ์อื่นอีกหลายรายการ และเลี้ยงคนได้มากกว่าสี่เท่าของประชากรทั้งประเทศ ประเทศไทยยังแสวงหาการส่งออกปศุสัตว์เพิ่มขึ้นอีก วันนี้เราจึงจะพาไปรู้จักระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ทำชาวเกษตรกรฟื้นตัวได้ประเทศไทยกัน จะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย

รู้จักระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ทำชาวเกษตรกรฟื้นตัวได้

                ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) หรือ ระบบเกษตรกรรมทางเลือก (Alternative Agriculture) หรือ ระบบเกษตรกรรมถาวร (Permanent Agriculture หรือ Permaculture) ล้วนเป็นระบบเกษตรกรรมที่มีหลักการใหญ่ๆ คล้ายคลึงกัน มีผู้ให้คำจำกัดความและความหมายของแนวทางเกษตรกรรมทางเลือก-เกษตรกรรมยั่งยืนไว้มากมาย แต่ส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกัน โดยให้ความสำคัญกับสมดุลของระบบนิเวศ ผลผลิต คุณภาพที่ดี และเพียงพอต่อเกษตรกรและผู้บริโภค การพึ่งพาตนเอง รวมทั้งการให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่น

                หลักการสำคัญที่สุดที่มีร่วมกันของเกษตรกรรมทางเลือก-เกษตรกรรมยั่งยืน คือ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการผลิตอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่าผลิตเพื่อการส่งออก (เกษตรกรจึงไม่ต้องวิ่งไปตามกระแสของตลาด) มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการผลิต การบริโภค และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมีความสมดุล อาหารที่ผลิตได้เป็นอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง

และเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ทำให้ระบบเกษตรกรรมเหล่านี้ดำเนินต่อเนื่องไปได้นานที่สุด โดยไม่มีผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศวิทยา และไม่เกิดปัญหาทั้งด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ

รู้จักระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่ทำชาวเกษตรกรฟื้นตัวได้

แนวทางเกษตรยั่งยืน ประกอบด้วยหลัก 5 ประการสำคัญ คือ

1. การปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตและมีความแข็งแรง โดยเน้นการจัดการอินทรียวัตถุในดินและการส่งเสริมสิ่งมีชีวิตในดิน

2. การรักษาธาตุอาหารและสร้างสมดุลของวงจรธาตุอาหารโดยการตรึงไนโตรเจน การดึงธาตุอาหารจากดินชั้นล่าง และการใช้ปุ๋ยอย่างหมุนเวียน

3. การลดการสูญเสียอันเนื่องมาจากรังสีแสงอาทิตย์ อากาศ และน้ำ โดยการจดการภูมิอากาศย่อย การจัดการ และการควบคุมการชะล้างพังทลายของดิน

4. การลดการสูญเสียอันเนื่องมาจากศัตรูพืช โดยการป้องกนและกำจัดศัตรูพืชที่ปลอดภัย

5. ส่งเสริมการเกื้อกูลกันระหว่างสิ่งมีชีวิตในฟาร์ม โดยการเริ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมซึ่งเป็นวิธีการเกษตรที่ผสมและมีความหลากหลายของระบบนิเวศ

สำหรับในประเทศไทย ขบวนการเกษตรกรรมทางเลือก-เกษตรกรรมยั่งยืนได้เกิดขึ้นมาเกือบ 3 ทศวรรษ โดยเริ่มต้นจากการรวมตัวกันของภาคประชาชนครั้งแรกเมื่อปลายทศวรรษ 2520 มีผู้เกี่ยวข้องทั้งนักพัฒนาจากองค์กรภาคเอกชน นักวิชาการ นักวางแผน และข้าราชการที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ได้ให้คำจำกัดความและความหมายของแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืนไว้มากมาย ซึ่งคณะทำงานวิชาการ สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 1 ปี 2535 ได้นำมาประมวลเป็นนิยามของเกษตรกรรมยั่งยืนไว้ว่า “เป็นวิถีเกษตรกรรมที่ฟื้นฟู

ทรัพยากรธรรมชาติและดำรงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศ สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพและพอเพียงตามความจำเป็นพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรและผู้บริโภค พึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้ออำนวยให้เกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นอิสระ ทั้งนี้เพื่อความผาสุกและความอยู่รอดของมวลมนุษย์ชาติโดยรวม”

ท่ามกลางกระแสการผลักดันของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อตอบสนองการส่งออก รวมทั้งการเข้ามาควบคุมนโยบายการเกษตร โดยไม่ให้ความสำคัญกับเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นที่เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนตามที่ควรจะเป็น คณะทำงานวิชาการ สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3 ปี 2547

จึงได้เพิ่มเติมนัยความหมายที่ให้ความสำคัญ มากขึ้น กับเป้าหมายการผลิตอาหารให้พอเพียงต่อครอบครัวและชุมชนเป็นเบื้องต้น และได้ขยายความเพื่อ ให้เข้าใจความหมายและแนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับเกษตรกรรมยั่งยืนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยกำหนดเป็นหลักการ 10 ประการของเกษตรกรรมยั่งยืนไว้ อันได้แก่

1. ใช้ประโยชน์และพัฒนาภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อใช้ในระบบเกษตรกรรม

2. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีบทบาทหลักในการพัฒนาความรู้และการวิจัยทางการเกษตร

3. ใช้ทรัพยากรจากภายใน (พื้นที่/ระบบ) และลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก (พื้นที่/ระบบ)

4. หลีกเลี่ยงและปฏิเสธการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล

5. ให้ความสำคัญสูงสุดในการปรับปรุงบำรุงดินให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

6. ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างความหลากหลายของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรในไร่นา และผสมผสานกิจกรรมการผลิตให้เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันอย่างสูงสุดควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ และวิธีการซึ่งไม่ใช้สารเคมีรูปแบบต่าง ๆ

7. ควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ และวิธีการซึ่งไม่ใช้สารเคมีรูปแบบต่าง ๆ

8. ปฏิบัติต่อธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นด้วยความเคารพ

9. ผลิตอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการ มีธาตุอาหารครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการที่จำเป็นในการดำรงชีวิต โดยตอบสนองต่อความต้องการอาหารและปัจจัยในการดำเนินชีวิตภายในครอบครัวและชุมชนก่อนเป็นเบื้องต้น

10. เอื้ออำนวยให้เกษตรกรและชุมชนสามารถพัฒนาตนเองได้โดยปราศจากการครอบงำจากภายนอก

ระบบเกษตรยั่งยืน

ระบบเกษตรยั่งยืนประกอบไปด้วย

1. ระบบไร่หมุนเวียน

2. ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated farming)

3. ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversified/Polyculture Farming)

4. ระบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตร (Agroforestry)

5. เกษตรธรรมชาติ (Natural farming)

6. เกษตรทฤษฎีใหม่

7. เกษตรกรรมประณีต

8. เกษตรอินทรีย์ (Organic farming)

9. เกษตรกรรมที่เป็นมากกว่าเกษตรอินทรีย์ (Beyond Organic farming)

การทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน นี้จะสามารถสร้างความยั่งยืนในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งด้านสังคม เพียงแค่เกษตรกรนั้นรู้จักประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสร้างความยั่งยืนกับกับตัวเองและครอบครัวต่อไป

บทความน่าสนใจ : streetfood7